อีกนิดพิชิตเอดส์ : AIDS-Almost Zero
 
ความเป็นมา
ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคเอดส์รายแรกในปี พ.ศ. 2527 สาเหตุหลักของการแพร่ระบาดของการติดเชื้อเอชไอวี เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงและชายวัยเจริญพันธุ์ โดยในช่วง 3 ปีแรก เอดส์แพร่ระบาดในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายเป็นส่วนใหญ่ ในปี พ.ศ. 2531 แพร่ระบาดมากในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด ปีต่อมาเริ่มแพร่ระบาดในกลุ่มพนักงานบริการทั้งหญิงและชาย ปี พ.ศ. 2533 แพร่ระบาดมากในกลุ่มชายเที่ยวหญิงบริการ และปีถัดมา พ.ศ. 2534 พบการระบาดในหญิงตั้งครรภ์ และแพร่ระบาดในทารกแรกคลอด ขณะเดียวกันกลุ่มชายไทยที่เข้าเป็นทหารประจาการ ร้อยละ 4.0 มีแนวโน้มติดเชื้อเอชไอวีสูงสุดในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536 (วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาเอดส์จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2548) นอกจากนี้สานักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ยังมีการศึกษาเรื่องพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มทหารกองประจาการ โดยเฉพาะในกลุ่มทหารกองประจำการ พบว่าเป็นกลุ่มมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี กว่าร้อยละ 79 โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่าระยะเวลาเพียง 6-7 ปี ที่พบผู้ป่วยโรคเอดส์ในประเทศไทย เอดส์ก็ได้แพร่ระบาดไปสู่สถาบันครอบครัวของคนไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2534-2536 เอดส์แพร่ระบาดรุนแรงที่สุดในประเทศไทย พบผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีอาการปรากฏต่อสังคมและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น โดยมีสถิติผู้ติดเชื้อฯ รายใหม่ มีประมาณปีละ 1 แสนถึง 1.5 แสนคน และมีผู้ที่เสียชีวิตจากเอดส์ปีละกว่า 6 หมื่นคน 
 
 
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา พบว่าการติดเชื้อรายใหม่ในกลุ่มคนอายุต่ากว่า 21 ปีเพิ่มสูงขึ้น กลุ่มประชากรเฉพาะที่มีความชุกในการติดเชื้อเอชไอวีสูงและไม่ลดลงคือ ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด และชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย แนวโน้มการมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มคนอายุน้อยเพิ่มสูงขึ้น และรูปแบบการถ่ายทอดเชื้อฯ ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยในปี พ.ศ. 2554 ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อได้รับเชื้อฯ จากคู่ (สานักระบาดวิทยากระทรวงสาธารณสุข)

มาตรการและนโยบาย
นับจากปี พ.ศ. 2534 สถานการณ์เอดส์แพร่ระบาดอย่างรุนแรง รัฐบาลได้มีมาตรการและนโยบาย ควบคุม ป้องกัน และดูแลรักษา อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
► พ.ศ. 2534 รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศนโยบายให้เอดส์เป็นวาระแห่งชาติ “เร่งรัดควบคุมป้องกันโรคติดต่อโดยเฉพาะโรคเอดส์ให้ได้ผล และร่วมกับภาคเอกชนและองค์กรสาธารณประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักในภัยของโรค และเกิดจิตสานึกว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหานี้” โดยเพิ่มมาตรการดูแลรักษาและรณรงค์ให้ความรู้ป้องกันเอดส์ ใช้งบประมาณในประเทศดาเนินงานด้านเอดส์ และสนับสนุนการทางานของภาคประชาสังคม จึงเกิดการริเริ่มรณรงค์ป้องกันและรักษาเรื่องเอดส์อย่างจริงจัง โดยสื่อมวลชนเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความเข้าใจเรื่องเอดส์แก่ประชาชน เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในสังคม มีการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันเอดส์อย่างแพร่หลาย ส่งผลให้ลดจำนวนของผู้ติดเชื้อฯ อย่างเห็นได้ชัด
ด้านการคุ้มครองสิทธิของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ได้กาหนดแผนป้องกันและควบคุมโรคเอดส์แห่งชาติ พ.ศ.2535-2539 โดยกาหนดมาตรการและแนวทางในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ทั้งของประชาชนทั่วไป และแนวทางการคุ้มครองสิทธิของผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ตลอดจนแนวทางในการให้การช่วยเหลือผู้ติดเชื้อฯและบุคคลใกล้ชิด
► พ.ศ. 2543 กระทรวงสาธารณสุขมีการดาเนินงานป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกในประเทศไทยเป็นการผสมผสานการดาเนินงานเข้าสู่ในระบบการให้บริการการดูแลฝากครรภ์และคลอดบุตรอย่างกลมกลืน มีระบบการให้คาปรึกษาตรวจเลือดด้วยความสมัครใจ พร้อมกับให้ยาต้านไวรัส และการให้นมผงทดแทนนมมารดา
► พ.ศ. 2545 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเพิ่มการเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ให้ครอบคลุมทั่วถึง ทาให้ผู้ติดเชื้อฯ ผู้ป่วยเอดส์ ได้รับยาต้านไวรัสเพิ่มขึ้น ประมาณ 3,000 ราย ใน พ.ศ. 2544 และ กว่า 40,000 ราย ใน พ.ศ. 2547 ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์มีชีวิตยืนยาวขึ้นกว่าเดิม สามารถดารงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพมากขึ้น
► พ.ศ. 2548 สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ประกาศให้ยาต้านไวรัสสาหรับคนไทยทุกคน และกระทรวงสาธารณสุข ประกาศใช้มาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร (CL: Compulsory Licensing) ระบบบริการสาธารณสุขมีความพร้อมดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ เอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ได้มากขึ้น
► พ.ศ. 2554 ประเทศไทยได้ลงนามพันธสัญญาร่วมกับประชาคมโลก เพื่อยุติเอดส์ ภายในปี พ.ศ. 2573 มีเป้าหมายในการลดผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ให้ต่ากว่า 1,000 คนต่อปี ลดผู้เสียชีวิตจากเอชไอวีให้ต่ากว่า 4,000 คนต่อปี ลดการรังเกียจและเลือกปฏิบัติในสังคมให้มากกว่าร้อยละ 90
► พ.ศ. 2557 รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีนโยบายส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข ลดความเหลื่อมล้าของสังคม และสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ประกาศให้การยุติปัญหาเอดส์เป็นวาระแห่งชาติ 3 เรื่อง คือ 1) ลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด เพื่อลดผู้ติดเชื้อในผู้ฉีดยาเสพติดซึ่งมีอัตราติดเชื้อสูงถึงร้อยละ 80 ต่อปี 2) ระดมการทางานทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่นเพื่อแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ และ 3) เพิ่มงบประมาณด้านเอดส์ในปี พศ. 2558 – 2562

ผลลัพธ์
นับตั้งแต่รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ได้ทุ่มเทงบประมาณ วางนโยบายและมาตรการในการทางาน ทั้งด้านการวิจัยและรักษา การป้องกัน การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ส่วนภาคประชาสังคม ซึ่งได้แก่ มูลนิธิ องค์กรชุมชน เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบฯ มีบทบาทที่สาคัญในการทางานเชิงรุกกับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่น เยาวชน แม่และเด็กที่ติดเชื้อฯ โดยเฉพาะกลุ่มประชากรที่เข้าถึงยาก อาทิ ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย สาวประเภทสอง ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด พนักงานบริการชาย/หญิง และแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้เข้าถึงบริการรักษา ทั้งนี้ภาคประชาสังคมพยายามแสวงหาแหล่งทุนทั้งจากในและต่างประเทศมาทางาน เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเอชไอวี จึงทาให้เกิดความสาเร็จร่วมกับภาครัฐหลายประการ ซึ่งเกิดจากนโยบายสาคัญ ที่ร่วมผลักดันขับเคลื่อนโดยความร่วมมือของภาครัฐ และภาคประชาสังคม กล่าวคือ
♦ ปี พ.ศ. 2534 โครงการถุงยางอนามัย 100% ได้ถูกริเริ่มเป็นมาตรการป้องกันเอดส์ในประเทศไทยโดยรณรงค์ให้พนักงานบริการหญิงในสถานประกอบการ ได้ผลเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ โดยสามารถลดการแพร่ระบาดของโรคเอดส์จากปีละประมาณ 2 แสนราย เหลือราวปีละ 15,000 ราย ทาให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสามประเทศที่กาลังพัฒนาซึ่งได้รับการยอมรับว่า สามารถลดการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ลงได้อย่างชัดเจน ในปีพ.ศ. 2539 (ร่วมกับประเทศยูกันดาและซิมบับเว)
♦ สถานการณ์การติดเชื้อของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา มีแนวโน้มลดลงถึงเกือบ 7 เท่า กล่าวคือ ในปีพ.ศ. 2529 มีประชากรที่ติดเชื้อมากถึง 7.85 ต่อประชากรพันคน ขณะที่ปีพ.ศ. 2552 ลดลงเหลือเพียง 0.37 ต่อประชากรพันคน ทั้งนี้เป็นเพราะการรณรงค์เรื่องการป้องกันโรคเอดส์โดยการใช้ถุงยางอนามัยที่มีเพิ่มขึ้น (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อ้างใน การสาธารณสุขไทย 2551 - 2552)

ปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2559 ประเทศไทยได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก ให้เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จ ในการลดอัตราการติดเชื้อฯ จากแม่สู่ลูก ต่า กว่า 2% ซึ่งเป็นประเทศแรกของเอเชีย และลา ดับที่ 2 ของโลก โดยนายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาธร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้รับมอบใบประกาศรับรอง ในการประชุมระดับสูงของการประชุมทั่วไปของสหประชาชาติเพื่อยุติปัญหาเอดส์ (United GeneralAssembly High Level Meeting on Ending AIDS) เมื่อวันที่ 6-11 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ที่นครนิวยอร์กประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เอดส์ยังไม่หายไปจากสังคมไทย จากสถิติในปี พ.ศ. 2559 พบว่าประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีชีวิตอยู่ จานวน 427,800 คน มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากเอดส์จานวน 15,500 คนเฉลี่ยวันละ 42คน และติดเชื้อฯรายใหม่มากถึง 6,300 คน เฉลี่ยวันละ 19 คน (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,พฤศจิกายน 2559)

กว่า 30 ปี ที่ประเทศไทยมีประสบการณ์และพัฒนาการต่อสู้กับปัญหาเอดส์ ด้วยความร่วมมือของภาครัฐ ภาคประชาสังคม และชุมชน โดยประสบความสำเร็จทั้งด้านป้องกัน รวมทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีโอกาสที่จะยุติเอดส์ลงได้ ตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติการยุติปัญหาเอดส์ภายในปี พ.ศ.2573 ตามเป้าหมาย 3 ประการคือ ลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ให้ต่ำกว่า 1,000 คนต่อปี ลดเสียชีวิตจากเอดส์ให้ต่ำกว่า 4,000 คนต่อปี และลดการเลือกปฏิบัติจากเอดส์ในสังคมให้มากกว่าร้อยละ 90 โดยมีการดำเนินงาน คือ 1) ส่งเสริมให้ประชาชนทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวี มุ่งเน้นให้กลุ่มประชากรหลักได้เข้าถึงบริการการป้องกันหลายรูปแบบและตรวจการติดเชื้อเอชไอวีให้ครอบคลุมร้อยละ 90 และ 2) ให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสฯ แต่เนิ่นๆ กับผู้พบผลเอชไอวีเป็นบวกทุกราย โดยไม่คำนึงถึงระดับภูมิคุ้มกัน และต้องมีระบบสนับสนุนให้ผู้ติดเชื้อฯ กินยาสม่ำเสมอ 3) ทำให้เรื่องเอดส์และการตรวจเอชไอวีเป็นเรื่องปกติวิสัย(สำนักโรคเอดส์ฯ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2559) ทั้งนี้ การยุติเอดส์ในประเทศไทยมีความเป็นไปได้ หากรัฐบาลและทุกภาคส่วนร่วมลงทุน โดยใช้มาตรการที่มีประสิทธิผลดังกล่าวควบคู่กับมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิผลเดิม โดยต้องเน้นให้ครอบคลุมประชากรหลักที่สำคัญ จะสามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอดส์ใหม่ลดจำนวนลงเกินกว่าร้อยละ 50 ทั้งนี้ การลงทุนต้องใช้งบประมาณเพิ่มประมาณ 95 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3,325 ล้านบาทในระยะเวลา 10 ปี แต่จะสามารถลดการใช้งบประมาณประเทศได้ถึง 313 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 10,955 ล้านบาท ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายโดยช่วยป้องกันการติดเชื้อใหม่ประมาณ 20,000 คน ลดการสูญเสียชีวิต 22,000คน และเป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยจะลดการแพร่ระบาดเอดส์ตามที่รัฐบาลตั้งปณิธานไว้ปัจจุบันงบประมาณของประเทศในการแก้ไขปัญหาเอดส์มุ่งสู่การรักษาในระบบบริการเป็นหลัก และไม่เพียงพอกับการป้องกันเอดส์ ดังนั้นภาคประชาสังคมจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อดำเนินงานป้องกันเอดส์เข้าถึงกลุ่มประชากรต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยงบประมาณสนับสนุนจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ และในอีกไม่กี่ปี ข้างหน้าต่างประเทศลดหรือยุติการช่วยเหลือภาคประชาสังคมจะส่งผลให้การทำงานป้องกันเอดส์ในประเทศไทยต้องจบลงด้วย ทางภาคประชาสังคม 30 องค์กรจึงจับมือร่วมกันจัดตั้งโครงการ “อีกนิดพิชิตเอดส์ หรือ AIDS-Almost Zero” เพื่อร่วมผลักดันการทำงานด้านการป้องกันเอดส์ให้มีความต่อเนื่อง ตามเป้าหมายยุติเอดส์ ภายในปี พ.ศ. 2573

ทำไมทุกคนต้องมีส่วนร่วม
ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาเอดส์จนเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ แต่การแก้ไขปัญหาการติดเชื้อฯนั้น จะต้องทำไปทั้งระบบ เรายังต้องทำงานต่อเนื่องเพื่อไปสู่เป้าหมายในการยุติเอดส์ของประเทศ ภายในปี 2573 ซึ่งประเทศยังไม่สามารถเตรียมความพร้อมด้านงบประมาณ เพื่อดำเนินการอย่างต่อเนื่องจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานยุติเอดส์ให้ได้ใน อีก 14 ปี ข้างหน้า การทำงานเพื่อยุติเอดส์ในครั้งนี้ นับเป็นมิติที่สำคัญ กล่าวคือเป็นครั้งแรกที่ภาคประชาสังคมกว่า 30 องค์กรในประเทศไทย จะร่วมจับมือกับภาคธุรกิจที่มีหัวใจช่วยเหลือสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญระดับชาติดังกล่าว ในการนี้มูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย ได้รับมอบหมายจากภาคประชาสังคม 30 องค์กร เป็นองค์กรกลางในการระดมทุนผ่านโครงการ “อีกนิดพิชิตเอดส์” หรือ “AIDS-Almost Zero” ซึ่งยังต้องอาศัยการระดมทุนเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายในการพิชิตเอดส์ตามแผนงานในอีก 14 ปี
โครงการ “อีกนิดพิชิตเอดส์” ตั้งเป้าหมายในการระดมทุน 50 ล้านบาทในปี แรก และเพิ่มขึ้นในปีต่อๆ ไป 100-200 ล้านบาท เพื่อดา เนินงานป้ องกันเอดส์ในกลุ่มประชากรต่างๆ ด้วยวิธีการที่สอดคล้องและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายโครงการฯ จะบริหารจัดการให้เกิดผล โดยจัดสรรสู่องค์กรภาคประชาสังคมที่มีศักยภาพในการทำงาน และนำเสนอโครงการทา งานด้านเอดส์ ตามมาตรฐานและเป้าหมายในการพิชิตเอดส์ “เกิดผลจริง วัดได้ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้”

การดำเนินงาน
โครงการ “อีกนิดพิชิตเอดส์” ดำเนินงานโดยความร่วมมือของ ภาคประชาสังคม กว่า 30 องค์กร และภาคธุรกิจที่มีหัวใจช่วยเหลือสังคม ในการนี้มูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย ได้รับมอบหมายจากภาคประชาสังคม 30 องค์กร เป็นองค์กรกลางรวมถึงการแต่งตั้งบุคลากรที่มีธรรมภิบาลในการตรวจสอบความโปร่งใสและการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายยุติเอดส์ ภายใต้ชื่อ “คณะกรรมการอีกนิดพิชิตเอดส์” หรือ “AIDS Almost Zero Committee” โดยการสนับสนุนด้านวิชาการจาก UNAIDS มีคณะทำงานดำเนินงาน ดังนี้

• คณะกรรมการกิตติมศักดิ์หรือ ที่ปรึกษาคณะกรรมการอีกนิดพิชิตเอดส์ ประกอบด้วย ผู้นำภาคธุรกิจจำนวน 7-10 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในการระดมทุน/ทรัพยากร โดยกรรมการกิตติมศักดิ์สามารถส่งตัวแทนเข้าร่วมในคณะกรรมการอีกนิดพิชิตเอดส์ได้
• คณะกรรมการอีกนิดพิชิตเอดส์เป็นกรรมการที่มาจากทุกภาคส่วน จำนวน 15 คน ประกอบด้วยภาคประชาสังคม 6 คน ภาคธุรกิจ 3 คน ภาครัฐ 3 คน และนักวิชาการ 3 คน ทา หน้าที่ในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้เกิดผลสูงสุด รวมทั้งติดตามประเมินผลและรายงานผล โดยมีกลไลการติดตามทั้งภายในและหน่วยงานภายนอก
• การทำงานในแต่ละโครงการ จะวางแผนโดยคณะกรรมการวิชาการที่มีประสบการณ์ในการดำเนินงานด้านป้องกันเอชไอวี และ มีกลไกการติดตามผล รายงานผล และประเมินผล ที่จะนำเสนออย่างโปร่งใส
• มีระบบติดตาม ตรวจสอบด้านการเงิน จากหน่วยงานภายนอกที่เป็นมาตรฐาน
“รู้เร็ว รักษาเร็ว ลดโอกาสในการแพร่เชื้อเอชไอวี”
มาร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์ครั้งสา คัญในการ ยุติเอดส์
พาประเทศไทยผ่านโค้งสุดท้าย ไม่มีการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ในอีก 14 ปี ข้างหน้า
ด้วยการสนับสนุนโครงการ “อีกนิด พิชิตเอดส์” ผ่านทาง www.aidsalmostzero.org